วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การวัดความต้านทานของตัวต้านทาน

        การวัดตัวต้านทานนั้น ก่อนการวัดค่าทุกครั้ง ต้องทำการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้พร้อมใช้งาน โดยชอร์ตปลายเข็มวัดของโอห์มมิเตอร์เข้าด้วยกัน และทำการปรับแต่งปุ่มปรับ 0 Ω ADJ. ที่หน้าปัดมิเตอร์ ให้เข็มชี้ของมิเตอร์เคลื่อนไปชี้ที่ตำแหน่ง 0 Ω พอดี ที่สเกลโอห์มและการเปลี่ยนย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ทุกย่าน จะต้องทำการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ใหม่ทุกครั้ง เมื่อปรับแต่งโอห์มมิเตอร์พร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดความต้านทานได้ตามต้องการ
                                                   การปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ก่อนใช้งาน
                                                     การวัดตัวต้านทานด้วยโอห์มมิเตอร์
การวัดตัวต้านทานแบบคงที่
ถ้าตัวต้านทานที่จะนำมาวัดเป็นชนิดค่าคงที่ ซึ่งก่อนการวัดค่าจะต้องทำการอ่านค่าความต้านทานที่บอกไว้อาจเป็นรหัสสี หรือตัวเลขกำกับไว้ เมื่อทราบค่าแล้ว ก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ในย่านใกล้เคียงที่จะวัดได้ เช่น ตัวต้านทานมีค่า 5,000 Ω ก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่าน Rx100 หรือตัวต้านทานที่ค่า 250k Ωก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่าน Rx10k เป็นต้น และอย่าลืมปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ก่อนการใช้งานทุกครั้ง จึงจะนำเข็มวัดของมิเตอร์ไปวัดค่าตัวต้านทานนั้น ๆ ได้ Ωการอ่านค่าความต้านทานให้อ่านที่สเกลโอห์ม (Ω) ที่หน้าปัดมิเตอร์ค่าที่อ่านได้เท่าไร นำมาคูณเข้ากับย่านที่ตั้งวัดของโอห์มมิเตอร์ เช่น ตั้งย่านวัดโอห์มมิเตอร์ไว้ที่ Rx100 เข็มมิเตอร์ชี้หน้าปัดมิเตอร์ที่เลข 8 จะอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานได้เท่ากับ 800 W (8x100=800 Ω ) หรือตั้งย่านวัดโอห์มมิเตอร์ไว้ที่ Rx10k เข็มมิเตอร์ชี้หน้าปัดมิเตอร์ที่เลข 50 จะอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานได้เท่ากับ 500k W (50x10k=500k Ω ) เป็นต้น

การวัดตัวต้านทานแบบปรับค่าได้

ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ชนิดปกติจะมี 3 ขา ขากลาง ( ขา 2) จะเป็นขาที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนได้ ตามการปรับแต่งของผู้วัด ส่วนริมทั้ง 2 ขา ( ขา 1,3) จะเป็นค่าความต้านทานคงที่ ที่บอกค่าไว้ที่ตัวถังด้านนอกของตัวต้านทานปรับค่าได้นั้น ๆ
                                                 รูปร่างสัญลักษณ์และตำแหน่งขาของตัวต้านทานปรับค่าได้
                                                            การวัดหาค่าความต้านทานของตัวต้านทานปรับค่าได้
                                                              การวัดการสัมผัสกันของตัวต้านทานปรับค่าได้

การจะวัดค่าความต้านทานทั้งหมด ของตัวต้านทานปรับค่าได้ให้ใช้โอห์มมิเตอร์วัดคร่อมขา 1 และขา 3 ของตัวต้านทานปรับค่าได้ ก็จะได้ค่าความต้านทานของตัวต้านทานปรับค่าได้ตัวนั้น                  ถ้าต้องการตรวจสอบสภาวะการเปลี่ยนค่าได้ หรือต้องการตรวจสอบสภาพดี - เสียของตัวต้านทานปรับค่าได้ จะต้องใช้โอห์มมิเตอร์วัดตัวต้านทานปรับค่าได้ ระหว่างขากลางและขาริมขาใดขาหนึ่ง ( วัดขา 2 กับขา 1 หรือขา 3 ขาใดขาหนึ่ง) และปรับปุ่มปรับของ ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้ไปมา โดยปรับให้ไปสุดด้านหนึ่งและปรับย้อนกลับมาสุดอีกด้านหนึ่ง สลับไปสลับมา ขณะปรับปุ่มอยู่ให้ดูเข็มชี้ของโอห์มมิเตอร์ด้วย เข็มจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามการปรับนั้นอย่างเนื่อง ไม่สะดุด หรือตกไปสุดสเกลซ้ายมือด้านโอห์มสูง ( ) แสดงว่าตัวต้านทานปรับค่าได้ตัวนั้นดี  ถ้าการปรับปุ่มไม่ว่าตอนใดก็ตาม เข็มชี้ของโอห์มมิเตอร์มีการสะดุด หรือตกไปสุดสเกลด้านซ้ายมือด้านโอห์มสูง (  ) แสดงว่าตัวต้านทานปรับค่าได้ตัวนั้นเสีย




 ข้อควรระวัง

 1. การใช้โอห์มมิเตอร์วัดตัวต้านทาน ไม่ควรทำการวัดขณะที่ตัวต้านทานยังมีแรงดันตกคร่อมอยู่ เพราะจะทำให้โอห์มมิเตอร์เสียได้ และการวัดตัวต้านทานในวงจร ถึงแม้ว่าสามารถอ่านค่าได้แต่ค่าที่อ่านได้อาจไม่ถูกต้อง เพราะตัวต้านทานอาจจะต่อร่วมกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อีก ดังนั้นถ้าจะวัดตัวต้านทานในวงจรจำเป็นต้องปลดตัวต้านทานนั้นออกจากวงจรขาหนึ่งก่อนทำการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์
 2. การใช้โอห์มมิเตอร์ตั้งแต่ย่าน Rx1k ขึ้นไป (Rx1k, Rx10k) ตรวจวัดตัวต้านทาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ห้ามใช้มือของผู้วัดจับปลายเข็มวัดทั้งสองสายของโอห์มมิเตอร์ด้วยมือทั้งสองข้าง เพราะเข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้น เนื่องจากมีกระแสจากโอห์มมิเตอร์ไหลผ่านตัวผู้วัด ทำให้การวัดค่าผิดพลาด แต่ถ้าจับปลายเข็มวัดสายเดียวด้วยมือข้างเดียวไม่เป็นไร
 3. อาการเสียของตัวต้านทาน ถ้าเป็นตัวต้านทานคงที่จะพบบ่อยคือความต้านทานยืดค่าหรือขาด ถ้าเป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ที่พบบ่อยคือปรับค่าความต้านทานแล้วสะดุดบางช่วงและขาด หากเป็นตัวต้านทานปรับค่าแบบคาร์บอนอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการสึกกร่อนของผงคาร์บอนที่ฉาบไว้ และหากเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้แบบไวร์วาวน์ อาการดังกล่าวจะเกิดจากการขาดของขดลวดที่พันไว้บางจุด
 4. การเปลี่ยนตัวต้านทาน ควรจะเปลี่ยนตัวต้านทานให้มีทั้งค่าความต้านทาน และค่าทนกำลังไฟฟ้าเท่าเดิม ไม่ควรใช้ค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าเดิมเพราะอาจจะทำให้ตัวต้านทานนั้นไม่ทนทาน หรืออาจทำให้วงจรนั้น ๆ ทำงานผิดพลาด จนอาจส่งผลให้อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ชำรุดเสียหายได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น