วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ



          ในหัวข้อที่แล้วได้ศึกษากำลังไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสสลับในกรณีต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากับตัวต้านทานที่มีความต้านทาน R ทำให้ทราบความหมายของค่า rms ของไฟฟ้ากระแสสลับในหัวข้อนี้จะได้ศึกษาค่าดังกล่าวต่อ สำหรับการต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับกับตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำดังนี้
ตัวต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
ในการต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเข้ากับตัวต้านทานที่มีความต้านทาน R ในวงจร ดังรูป 1 เมื่อ เป็นสัญลักษณ์แทนแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

ถ้าความต่างศักย์ของตัวต้านทานมีค่าเป็น

จากกฎของโอห์ม จะได้





แสดงค่า v และ i ดังกล่าว เป็นกราฟได้ดังรูป 2





                 รูป 1 การต่อวงจร R



รูป 2 กราฟกระแสไฟฟ้า iและความต่างศักย์ v กรณีมีตัวต้านทาน

รูป 2 แสดงว่ากระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวต้านทาน และความต่างศักย์ระหว่างปลายของตัวต้านทานต่างก็มีค่าสูงสุดพร้อมกันและมีค่าศูนย์พร้อมกัน คือมีเฟสตรงกัน จึงกล่าวได้ว่าในกรณีตัวต้านทาน กระแสไฟฟ้าสลบและความต่างศักย์สลับมีเฟสเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น