การวัดค่าความต้านทาน
การวัดค่าความต้านทาน โดยอ่านค่าบนสเกลความต้านทานมีลำดับการปฏิบัติดังนี้
1. จะต้องตั้งย่านวัดหรือตั้งเรนจ์ของการวัดความต้านทาน
-เรนจ์ความต้านทานของมัลติมิเตอร์มี 4 เรนจ์ คือ x1, x10, x1K และ x10K ดังรูป จากรูปเป็นการแสดงการตั้งสวิตช์เลือกเรนจ์ของมิเตอร์ไว้ที่เรนจ์ X1ถ้าบิดสวิตช์ขึ้นเป็นการตั้งเรนจ์ X10, X1K และX10K ตามลำดับ ส่วนค่ามิลลิแอมป์ (mA) และค่าไมโครแอมป์ ที่กำกับอยู่ที่เรนจ์ x1, X10 และ X1K เป็นค่าของกระแสสูงสุดของเรนจ์ เช่น x1, 150 mA หมายความว่า ที่เรนจ์ x1 เกิดกระแสสูงสุดขณะวัดสูงสุด 150 มิลลิแอมป์
การวัดค่าความต้านทาน โดยอ่านค่าบนสเกลความต้านทานมีลำดับการปฏิบัติดังนี้
1. จะต้องตั้งย่านวัดหรือตั้งเรนจ์ของการวัดความต้านทาน
-เรนจ์ความต้านทานของมัลติมิเตอร์มี 4 เรนจ์ คือ x1, x10, x1K และ x10K ดังรูป จากรูปเป็นการแสดงการตั้งสวิตช์เลือกเรนจ์ของมิเตอร์ไว้ที่เรนจ์ X1ถ้าบิดสวิตช์ขึ้นเป็นการตั้งเรนจ์ X10, X1K และX10K ตามลำดับ ส่วนค่ามิลลิแอมป์ (mA) และค่าไมโครแอมป์ ที่กำกับอยู่ที่เรนจ์ x1, X10 และ X1K เป็นค่าของกระแสสูงสุดของเรนจ์ เช่น x1, 150 mA หมายความว่า ที่เรนจ์ x1 เกิดกระแสสูงสุดขณะวัดสูงสุด 150 มิลลิแอมป์
ตารางการตั้งย่านวัดให้เหมาะสม
|
||
เรนจ์
|
ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดที่ใช้วัดได้
|
ค่าที่ควรใช้วัด
|
X1
|
0.2-2K
โอห์ม
|
0-50
โอห์ม
|
X10
|
2-20K
โอห์ม
|
50-2K
โอห์ม
|
X1K
|
200-2M
โอห์ม
|
2K-50Kโอห์ม
|
x10K
|
200K-20M
โอห์ม
|
50K-20M
โอห์ม
|
-ก่อนวัดจะต้องตั้งเรนจ์ให้เหมาะสมกับค่าความต้านทานของจุดวัด
จะทำให้ค่าที่อ่านได้จาการวัดมีความเที่ยวตรง หรือมีความแม่นยำสูง ดังแสดงในตาราง
-ถ้าเป็นจุดวัดที่ไม่ทราบว่าค่าความต้านทานประมาณเท่าไร ให้ตั้งเรนจ์ X1 วัดก่อน ถ้าวัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย ก็ค่อยเปลี่ยนไปใช้เรนจ์ที่สูงขึ้นไป พยายามให้เข็มมิเตอร์อยู่กลางหน้าปัด
-ถ้าเป็นจุดวัดที่ไม่ทราบว่าค่าความต้านทานประมาณเท่าไร ให้ตั้งเรนจ์ X1 วัดก่อน ถ้าวัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย ก็ค่อยเปลี่ยนไปใช้เรนจ์ที่สูงขึ้นไป พยายามให้เข็มมิเตอร์อยู่กลางหน้าปัด
การวัดค่าความต้านทาน
-นำสายวัดสีแดงเสียบแจ็ก + และสายวัดสีดำเสียบแจ็ก - ของมิเตอร์
-ถ้าเป็นการวัดที่ต้องการทราบค่าความต้านทานที่ถูกต้องแน่นอน จะต้องทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก่อน โดยการนำปลายสายวัดทั้งสองมาแตะกัน จะทำให้เข็มมิเตอร์ขึ้นไปประมาณสุดสเกลด้านขวามือแล้วให้ทำการปรับปุ่ม 0 โอห์มแอดจัส (ADJ) จนเข็มมิเตอร์ชี้ไปที่ตำแหน่ง 0 โอห์มในสเกลโอห์มพอดี และในระหว่างการวัด เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนเรนจ์ความต้านทานที่สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับค่าความต้านทานของจุดวัดนั้น ต้องทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก่อนทำการวัดทุกครั้ง เพื่อให้ค่าความต้านทานที่ถูกต้อง
-ถ้าเป็นการวัดที่ต้องการเพียงทราบค่าความต้านทานโดยประมาณจะไม่ทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก็ได้
-นำสายวัดสีแดงเสียบแจ็ก + และสายวัดสีดำเสียบแจ็ก - ของมิเตอร์
-ถ้าเป็นการวัดที่ต้องการทราบค่าความต้านทานที่ถูกต้องแน่นอน จะต้องทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก่อน โดยการนำปลายสายวัดทั้งสองมาแตะกัน จะทำให้เข็มมิเตอร์ขึ้นไปประมาณสุดสเกลด้านขวามือแล้วให้ทำการปรับปุ่ม 0 โอห์มแอดจัส (ADJ) จนเข็มมิเตอร์ชี้ไปที่ตำแหน่ง 0 โอห์มในสเกลโอห์มพอดี และในระหว่างการวัด เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนเรนจ์ความต้านทานที่สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับค่าความต้านทานของจุดวัดนั้น ต้องทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก่อนทำการวัดทุกครั้ง เพื่อให้ค่าความต้านทานที่ถูกต้อง
-ถ้าเป็นการวัดที่ต้องการเพียงทราบค่าความต้านทานโดยประมาณจะไม่ทำการปรับซีโร่ห์โอห์มก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น